วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ชื่อผลงานวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ในรายวิชาเคมี 3 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง ชื่อ-นามสกุล ผู้เขียนผลงาน นางสราญรมย์ ยิ่งสุข อายุ (ปี) 41 วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาเคมี มหาวิทยาลัยบูรพา อาชีพ รับราชการครู สถานที่ทำงาน โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง เลขที่ 880 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000 ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง เลขที่ 880 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000 โทรศัพท์ 037-211070 โทรศัพท์มือถือ 081-9459952 e-mail address romsran@gmail.com รายงานการวิจัย 1. ชื่อผลงานวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ในรายวิชาเคมี 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง 2. ความสำคัญของปัญหาการวิจัย วิชาเคมีเป็นพื้นฐานความรู้ของวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ เคมีเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้ได้จากการสังเกตและการทดลอง การทำการทดลองจะช่วยให้ผู้ทำการทดลองเข้าใจทฤษฎีได้ดีและรวดเร็ว ฝึกทักษะการสังเกต การจดบันทึก ที่จะนำไปสู่การคิดเพื่อค้นหาคำตอบ ทำให้เกิดความเข้าใจธรรมชาติและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี จะต้องทำการทดลองทางเคมี เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะและการเรียนรู้ที่เข้าใจในเรื่องที่เรียนได้ดี แต่ในการทดลองมีข้อจำกัดเรื่องห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ เครื่องแก้ว และสารเคมี ที่มีการใช้จำนวนมาก หลายชนิด ทำให้ผู้สอนใช้เวลาในการเตรียมการทดลองและหลังจากการทดลองเสร็จ นอกจากนี้การใช้สารเคมีปริมาณมากอาจทำให้เกิดปัญหาความเสี่ยงต่ออันตราย เนื่องจากธรรมชาติของสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตรายได้ จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยการคิดค้นและพัฒนาวิธีการสอนการทดลองเคมีรูปแบบใหม่ที่มีความปลอดภัย ประหยัด สะดวกและรวดเร็ว โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ซึ่งเป็นการทดลองที่ใช้สารเคมีปริมาณน้อย เป็นจำนวนหยด หรือ 2-3 ml ทำให้ลดอันตรายและใช้เวลาในการทำการทดลองน้อยลง สะดวกในการจัดเตรียมและการกำจัดของเสีย ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี ได้ดียิ่งขึ้น 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.1 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ในรายวิชาเคมี 3 3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์การเรียนที่กำหนด (80%) 4. สมมติฐานการวิจัย การจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน จะทำให้นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น   5. ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาการศึกษา เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี วิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขอบเขตเวลา เวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ตั้งแต่ เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตัวแปรที่ศึกษา - ตัวแปรต้น การจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน รายวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากผ่านการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน 6. วิธีดำเนินการวิจัย 6.1 ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา - ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 5 ห้องเรียน นักเรียน 224 คน - กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 46 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง 6.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - เครื่องมือในการแก้ปัญหา ใช้ใบปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี - เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี จำนวน 10 ข้อ 6.3 การดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการดำเนินตามขั้นตอน ต่อไปนี้ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาการสอน - การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดระหว่างการจัดการเรียนการสอน - การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง - การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้วิธีการสอน - การออกแบบ (design) เพื่อจัดทำใบปฏิบัติการ แบบทดสอบ และรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนและการประเมิน 3) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยการออกแบบ (design) เพื่อจัดทำใบปฏิบัติการ และแบบทดสอบ 4) ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 5) ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) กับนักเรียน โดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี จำนวน 10 ข้อ วิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็น แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนแล้วบันทึกคะแนนของนักเรียนแต่ละคนเก็บไว้ 6) ดำเนินการสอน ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และมีการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทุกคาบ ที่มีการเรียนการสอน 7) ทดสอบหลังสอน (Posttest) กับนักเรียน หลังจากเรียนจบบทเรียนทั้ง 10 คาบ โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี วิชาเคมี 3 ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ฉบับเดิม เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน แล้วบันทึกคะแนนของนักเรียนแต่ละคนเก็บไว้ 6.4 สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ ผู้วิจัยใช้สถิติบรรยายร้อยละเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเรียน การใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี รายวิชาเคมี 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้กำหนดเกณฑ์ในการประเมินแบบทดสอบหลังเรียน ต้องผ่านเกณฑ์ 8 คะแนน ร้อยละ 80 ของผู้เรียน 7. สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย ปรากฏว่า 7.1 การจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยการใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ที่นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ผลปรากฏว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คือ มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ 8 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 85.20 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนักเรียนมีความรู้ไม่แตกต่างกัน คะแนนเกาะกลุ่มกัน เมื่อเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน 7.2 นักเรียนที่เรียน เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยการใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80% อภิปรายผล จากการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมดุลในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมี แบบย่อส่วน ในรายวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์จากคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เมื่อเรียนรู้โดยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน นอกจากนี้ยังทำให้ครูผู้สอนได้ศึกษาแนวทางการเลือกเทคนิควิธีการสอนที่ดี และ มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับนักเรียน เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนต่อไป ข้อเสนอแนะ ควรนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน ไปใช้ทำปฏิบัติการในการเรียนเคมีเรื่องอื่นที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้ดี
บทคัดย่อ เรื่อง : รายงานผลการการใช้ชุดการสอนวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้รายงาน : นางสราญรมย์ ยิ่งสุข การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 45 คน โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 46 คน โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างคะแนนเฉลี่ยในการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดการสอนที่ 1 ถึงชุดการสอนที่ 4 ประชากรที่นำชุดการสอนวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2557 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4, 5/6, 5/7, 5/8 และ 5/9 จำนวน 5 ห้อง นักเรียน 221 คน และในปีการศึกษา 2558 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4, 5/5, 5/7, 5/9 และ 5/10 จำนวน 5 ห้อง นักเรียน 224 คน กลุ่มตัวอย่างที่นำชุดการสอน วิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2557 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 45 คน และในปีการศึกษา 2558 ในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 46 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เนื่องจากเป็นนักเรียนที่อยู่ในที่ปรึกษาเพื่อสะดวกในการติดตาม เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการได้แก่ ชุดการสอนวิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีลักษณะเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ชุดละ 20 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากชุดการสอน วิชาเคมี 3 รหัสวิชา ว30223 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุดการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งหมด โดยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเช่นเดียวกันทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

นกน่ารัก

แบบทดสอบ

เซลล์อิเล็กโตรไลต์




เซลล์อิเล็กโทรไลต์



อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คือกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้า (D.C.) จากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างเช่น อิเล็กโตรลิซึม และการชุบ (ขบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี)

เครื่องมือที่ใช้แยกสารละลายด้วยไฟฟ้าเรียกว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรืออิเล็กโทรลิติกเซลล์ ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้า ภาชนะบรรจุสารละลายอิเล็กโทรไลต์ และเครื่องกำเนิดกระแสตรง (D.C) เช่น เซลล์ไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่





ขั้วไฟฟ้า (Electrode) คือแผ่นตัวนำที่จุ่มในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้าต่อกับเซลล์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ แบ่งเป็นแอโนด และ แคโทด

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือสารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เพราะมี Iron (+) + Iron(-)

Iron (+) วิ่งไปรับอิเล็กตรอนที่ขั้วลบ เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงเรีบกขั้วลบว่า แคโทด และเรียกไอออนบวกว่า แคตไอออน (cathion)

Iron (-) วิ่งไปให้ e- ที่ขั้วบวกเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า แอโนด และเรียก Iron (-) ว่า แอนไอออน (Anion)

ดังนั้น ที่ Anode มี Anion คือ ไอออนลบ และที่ Cathode มี Cathion คือ Ion บวก

Anode (oxidation) ตรงกับขั้วบวก Cathode (Reduction) ตรงกับขั้วลบ

การอบรมครูวิทย์

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยสมดุล

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลของระบบเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน
ความเข้มข้น ความดันใน ปริมาตรใน อุณหภูมิ
ระบบที่มีก๊าซ ระบบที่มีก๊าซ
 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารทำได้โดยเพิ่ม เติม สารใดสารหนึ่งลงไปในระบบอรก หรือเอาสารนั้นออกจากระบบ อาจเป็นการเอาออกโดยตรงหรือเติมสารอีกชนิดหนึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารในระบบ
การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี้
 ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะลดความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป
 ถ้าลดความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะเพิ่มความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป
 เมื่อระบบปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ระบบจะเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีจำนวนโมลของสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ต่างไปจากสมดุลเดิม สมบัติจะต่างไปจากเดิม
Fe3+(aq) + SCN-(aq) ====== FESCN2+(aq)
สีเหลือง ไม่มีสี สีแดง
รบกวนสมดุล เพิ่ม
ที่ภาวะสมดุลใหม่ เพิ่ม ลด ไปข้างหน้า เพิ่ม
 การเปลี่ยนแปลงความดันของระบบ
ระบบจะเปลี่ยนถาวะสมดุลไปเมื่อเพิ่มหรือลดความดันได้นั้น สารในระบบนั้นต้องอยู่ในภาวะก๊าซ หรือมีก๊าซอยู่ในระบบอย่างน้อย 1 สาร ถ้าระบบนั้นไม่มีก๊าซอยู่ในปฏิกิริยา การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี
 เมื่อเพิ่มความดัน หรือลดปริมาตร ระบบจะปรับตัวไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่า
 เมื่อลดความดัน ภาวะสมดุลของระบบจะเปลี่ยนจากด้านที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่าไปทางจำนวนโมลก๊าซมากกว่า
 ถ้าจำนวนโมลของก๊าซสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เท่ากัน การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)
เพิ่มความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)
2HI(g) ======= H2(g) + I2(g)
เพิ่มหรือลดความดัน (2โมล) (2โมล) สมดุลไม่เปลี่ยน
SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)
ลดความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)
 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบ
ระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปภาวะสมดุลจะเปลี่ยนไป และมีผลทำให้ค่าคงที่สมดุล (K) เปลี่ยนไปด้วย อธิบายการปรับตัวตามหลักของเลอชาเตอลิเอได้ดังนี้
 ปฏิกิริยาดูดความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิสมดุลจะเลือนไปข้างหน้ามากขึ้น ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K มากขึ้นด้วย เมื่อลดอุณหภูมิจะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ผลิตภัณฑ์ลด ค่า K ลดลง
 ปฏิกิริยาคายความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิลดลง ดังนั้นเมื่อลดอุณหภูมิ สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K เพิ่มขึ้นด้วย