วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

นกน่ารัก

แบบทดสอบ

เซลล์อิเล็กโตรไลต์




เซลล์อิเล็กโทรไลต์



อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คือกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้า (D.C.) จากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างเช่น อิเล็กโตรลิซึม และการชุบ (ขบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี)

เครื่องมือที่ใช้แยกสารละลายด้วยไฟฟ้าเรียกว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรืออิเล็กโทรลิติกเซลล์ ประกอบด้วย ขั้วไฟฟ้า ภาชนะบรรจุสารละลายอิเล็กโทรไลต์ และเครื่องกำเนิดกระแสตรง (D.C) เช่น เซลล์ไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่





ขั้วไฟฟ้า (Electrode) คือแผ่นตัวนำที่จุ่มในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้าต่อกับเซลล์ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ แบ่งเป็นแอโนด และ แคโทด

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือสารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เพราะมี Iron (+) + Iron(-)

Iron (+) วิ่งไปรับอิเล็กตรอนที่ขั้วลบ เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงเรีบกขั้วลบว่า แคโทด และเรียกไอออนบวกว่า แคตไอออน (cathion)

Iron (-) วิ่งไปให้ e- ที่ขั้วบวกเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า แอโนด และเรียก Iron (-) ว่า แอนไอออน (Anion)

ดังนั้น ที่ Anode มี Anion คือ ไอออนลบ และที่ Cathode มี Cathion คือ Ion บวก

Anode (oxidation) ตรงกับขั้วบวก Cathode (Reduction) ตรงกับขั้วลบ

การอบรมครูวิทย์

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยสมดุล

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุลของระบบเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน การเปลี่ยน
ความเข้มข้น ความดันใน ปริมาตรใน อุณหภูมิ
ระบบที่มีก๊าซ ระบบที่มีก๊าซ
 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารทำได้โดยเพิ่ม เติม สารใดสารหนึ่งลงไปในระบบอรก หรือเอาสารนั้นออกจากระบบ อาจเป็นการเอาออกโดยตรงหรือเติมสารอีกชนิดหนึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารในระบบ
การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี้
 ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะลดความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป
 ถ้าลดความเข้มข้นของสารใดในระบบ ณ ภาวะสมดุล ระบบจะพยายามปรับตัวไปในทิศทางที่จะเพิ่มความเข้มข้นของสารที่เติมลงไป
 เมื่อระบบปรับตัวเรียบร้อยแล้ว ระบบจะเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีจำนวนโมลของสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์ต่างไปจากสมดุลเดิม สมบัติจะต่างไปจากเดิม
Fe3+(aq) + SCN-(aq) ====== FESCN2+(aq)
สีเหลือง ไม่มีสี สีแดง
รบกวนสมดุล เพิ่ม
ที่ภาวะสมดุลใหม่ เพิ่ม ลด ไปข้างหน้า เพิ่ม
 การเปลี่ยนแปลงความดันของระบบ
ระบบจะเปลี่ยนถาวะสมดุลไปเมื่อเพิ่มหรือลดความดันได้นั้น สารในระบบนั้นต้องอยู่ในภาวะก๊าซ หรือมีก๊าซอยู่ในระบบอย่างน้อย 1 สาร ถ้าระบบนั้นไม่มีก๊าซอยู่ในปฏิกิริยา การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
การอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล ตามหลักของเลอชาเตอลิเอ สรุปได้ดังนี
 เมื่อเพิ่มความดัน หรือลดปริมาตร ระบบจะปรับตัวไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่า
 เมื่อลดความดัน ภาวะสมดุลของระบบจะเปลี่ยนจากด้านที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่าไปทางจำนวนโมลก๊าซมากกว่า
 ถ้าจำนวนโมลของก๊าซสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เท่ากัน การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)
เพิ่มความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)
2HI(g) ======= H2(g) + I2(g)
เพิ่มหรือลดความดัน (2โมล) (2โมล) สมดุลไม่เปลี่ยน
SO2(g) + O2(g) ====== 2SO3(g)
ลดความดัน (3โมล) เปลี่ยนไปข้างหน้า (2โมล)
 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบ
ระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปภาวะสมดุลจะเปลี่ยนไป และมีผลทำให้ค่าคงที่สมดุล (K) เปลี่ยนไปด้วย อธิบายการปรับตัวตามหลักของเลอชาเตอลิเอได้ดังนี้
 ปฏิกิริยาดูดความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิสมดุลจะเลือนไปข้างหน้ามากขึ้น ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K มากขึ้นด้วย เมื่อลดอุณหภูมิจะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ผลิตภัณฑ์ลด ค่า K ลดลง
 ปฏิกิริยาคายความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิลดลง ดังนั้นเมื่อลดอุณหภูมิ สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ค่า K เพิ่มขึ้นด้วย

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

งานเพิ่มคะแนน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6

ให้นักเรียนทุกคนจัดทำแบบทดสอบพร้อมเฉลย ในเรื่องต่อไปนี้
1. อิเล็กโทรไลต์ จำนวน 10 ข้อ
2. ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม จำนวน 10 ข้อ
ส่งงานภายในวันที่ 14 กันยายน 2553